

การแข่งขันทักษะทางวิชาการ “สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าในท้องถิ่นผ่านสื่อนำเสนอทางสถาปัตยกรรม”
สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จัดการแข่งขันทักษะทางวิชาการ “สถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าในท้องถิ่นผ่านสื่อนำเสนอทางสถาปัตยกรรม” ขึ้นในระหว่างวันที่ 15-16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ ห้องประชุมเล็ก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม อาคาร 18 ภายใต้งานราชภัฏบุรีรัมย์มหกรรมวิชาการและวัฒนธรรมนานาชาติ ครั้งที่ 6 ภูมิพลังแห่งแผ่นดิน ด้วยศาสตร์และศิลป์ของพระราชา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยมีคณะกรรมผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ คุณปฏิญญา แปวไธสง , คุณชาลินี นามไธสง และคุณอิสรียา ไทธานี ซึ่งมีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 5 ทีมด้วยกัน ดังนี้
- ทีม My friend จากมหาวิทยาลัยนครราชสีมา
น.ส. ชยุดา สังฆมะณี
นายสุขสันต์ รสจันทร์
นายยุทธศาสตร์ ดวงสี
อาจารย์ผู้ควบคุมทีม ผศ.ดร. การุณย์ ศุภมิตรโยธิน
- ทีม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
น.ส. รัชฎาพร ดอกไม้
นายเลอพงศ์ เพ็งคง
น.ส. ชนาภา ผิวแดง
อาจารย์ผู้ควบคุมทีม ดร. ภาณุรังสี เดือนโฮ้ง
- ทีม เด็กขอบไซต์ จากมหาวิทยาลัยนครราชสีมา
น.ส. ปริยฉัตร เพียรการ
นายภูมินทร์ สอาด
นายสหรัฐ ช่วยนา
อาจารย์ผู้ควบคุมทีม ผศ.ดร. การุณย์ ศุภมิตรโยธิน
- ทีม ตัวละครลับ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
นายพิษณุ โนนกลาง
นายพันกร น้อยถนอม
น.ส. อัจฉรา เฉยไธสง
อาจารย์ผู้ควบคุมทีม ดร.ดนัย นิลสกุล
- ทีม กรุ๊ปเลือด B จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
น.ส.พิจิตรา เจริญรัมย์
น.ส.ลิลลดา ประจันทัง
น.ส. ภารดี เเถวไธสง
อาจารย์ผู้ควบคุมทีม อ.กฤษณ์ ปิตาทะสังข์
ภาพกิจกรรมการประกวดแข่งขัน
หลักการและเหตุผล
ทักษะการสื่อสารเป็นหนึ่งในผลลัพธ์การเรียนรู้ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 และยังเป็นหนึ่งในระเบียบคณะกรรมการสภาสถาปนิก ว่าด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตหมวดวิชาของมาตรฐานวิชาการในสาขาสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2548 ซึ่งมีสาระให้มีรายวิชาพื้นฐานการนำเสนอผลงาน รายวิชาการฝึกการพูด ตลอดจนการใช้สื่อหรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารของนักศึกษาอันจะเป็นประโยชน์ต่อไปในการประกอบวิชาชีพทางด้านสถาปัตยกรรม
สถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมได้มีการจัดการเรียนการสอน ในรายวิชาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สถาปัตยกรรมในแง่มุมต่าง ๆ การศึกษาทางศิลปะและวัฒนธรรมทั้งสากลและพื้นถิ่น รวมทั้งการนำเสนอและสื่อทางสถาปัตยกรรม ดังนั้นโครงการประกวดการค้นหาสถาปัตยกรรมที่ทรงคุณค่าในท้องถิ่น ผ่านสื่อนำเสนอทางสถาปัตยกรรมนี้ จึงมุ่งหวังให้เป็นโครงการเพื่อให้นักศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรมได้ใช้ความสามารถในการสืบค้นข้อมูล รวบรวมข้อมูลสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่ยังไม่ถูกเปิดเผยให้สาธารณะชนรู้จักในท้องถิ่นของตน มาวิเคราะห์ตามหลักการศึกษาสถาปัตยกรรม และจัดทำสื่อเพื่อนำเสนอ ประชาสัมพันธ์สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่านั้น
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อพัฒนาทักษะของนักศึกษาในด้านการสร้างสรรค์ผลงานการนำเสนอทางสถาปัตยกรรม
2. เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์การผลิตสื่อทางสถาปัตยกรรมและผลงานการนำเสนอทางด้านสถาปัตยกรรม ระหว่างสถาบันการศึกษาด้วยกัน และสถาบันการศึกษากับสถาปนิกวิชาชีพ
3. เพื่อเป็นการค้นหาและเผยแพร่สถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าในท้องถิ่นต่าง ๆ ที่ยังไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะ ให้เป็นที่รู้จัก